เกี่ยวกับทัณฑสถาน
ข่าวรอบรั้วทัณฑสถาน
บทความที่น่าสนใจ
___________________________ |
___________________________ |
___________________________ |
___________________________ |
___________________________ |
สถิติผู้ต้องขัง
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558
จำนวนรวม | 3,729 | คน |
เด็ดขาด | 3,686 | คน |
อุทธรณ์ ฏีกา | 53 | คน |
ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ | 2 | คน |
เด็กติดมารดา | 1 | คน |
ล็อกอิน
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์






![]() | วันนี้ | 14 |
![]() | เมื่อวานนี้ | 23 |
![]() | สัปดาห์นี้ | 82 |
![]() | เดือนนี้ | 657 |
![]() | ทั้งหมด | 102053 |
หนังสือเวียน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวประชาสัมพันธ์
![]() พิธีเปิดกีฬาชุมชนสัมพันธ์เทศบาลตำบลคลองไผ่ ณ โรงเร...วันที่ 4 มีนาคม 2559 เวลา 10.00 น. ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมาได้ดำเนิน
โครงการกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิ... --อ่านต่อ--
|
![]() ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ก้าวย่างแห่งการเปล...วันที่ 20 มกราคม 2559 นพลโททิวะพร ชะนะพะเนาว์ ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม และท่านเรืองศักดิ์ สุวา... --อ่านต่อ--
|
![]() โครงการ CSR : กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ (ลูกโป่งหรรษา...ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา
จัดโครงการ CSR : กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ (ลูกโป่งหรรษา)
ณ เทศบาลตำบลคลองไผ... --อ่านต่อ--
|
โครงการ CSR : การให้บริการนวดฝ่าเท้าเพื่อผ่อนคลาย ...ในระหว่างวันที่ 30 - 31 ธันวาคม 2558 ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา
จัดโครงการ CSR : การให้บริการนวดฝ่... --อ่านต่อ--
|
![]() เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา ร... เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา ร่วมกันออกกำลังกาย
เนื่องในโอกาสวันส่งเสริมสุขภาพผ... --อ่านต่อ--
|
![]() ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา ได้จัดงานพบญาติใกล้ชิดครั้... ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา ได้จัดงานพบญาติใกล้ชิดครั้งที่ 2/2558 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. – 6 ธ.ค.... --อ่านต่อ--
|
ข่าวทั่วไป
การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับผู้ต้องขัง
การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับผู้ต้องขัง
สังคมไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตอย่างรุนแรงและรอบด้าน ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม ต่างล้วนเป็นปัญหาวิกฤตที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมีรากฐาน และที่มาของปัญหาร่วมกัน อิทธิพลและแรงกดดันจากการพัฒนาของโลกตะวันตกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้การถูกครอบงำ เบียดเบียน และถูกทำลาย เน้นความสำเร็จเฉพาะผลิตภัณฑ์มวลรวมของประชาชาติ โดยละเลยไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาคน
สภาพการพัฒนาดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่าง เช่น ความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างผู้มีโอกาสกับผู้ด้อยโอกาส มาตรการหนึ่งในการกู้วิกฤตคือการปฏิรูปการศึกษา การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมส่วนรวม(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.๒๕๔๕:๓) หนึ่งในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม (Persons with Disability) คือ ผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์ เป็นผู้กระทำความผิดและต้องโทษตามคำพิพากษาศาล ถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ
กิจการราชทัณฑ์ มิใช่แต่เพียงดำเนินการลงโทษผู้กระทำความผิดกฎหมายให้เป็นไป ตามคำพิพากษาของศาลให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่มีกำหนดโทษทางอาญา เช่น ประหารชีวิต จำคุกหรือกักขังเท่านั้น หากไม่ถูกประหารชีวิตไปเสียแล้ว ในขณะที่คนเหล่านี้ใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ ถ้าจะขังไว้เพื่อจำกัดอิสระภาพแต่เพียงอย่างเดียว ชีวิตของผู้กระทำผิดก็จะผ่านไปแต่ละวันอย่างเปล่าประโยชน์ จึงเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่จะใช้เวลาว่างช่วงนี้ของชีวิตผู้ต้องขังทำการปรับปรุงแก้ไขความผิดพลาดของชีวิตในอดีต ให้การศึกษาอบรมและฝึกอาชีพ ซึ่งอย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ต้องขังส่วนหนึ่งมีจิตสำนึกที่ดีขึ้น ไม่เป็นภัยต่อสังคม มีวิชาความรู้และวิชาชีพติดตัวเมื่อพ้นโทษ สามารถประกอบสัมมาชีพได้ไม่เป็นภาระต่อสังคม หรือต้องถูกความจำเป็นบังคับให้ประกอบมิจฉาชีพเลี้ยงตัวอีกต่อไป (วิสัย พฤกษะวัน .๒๕๔๔ : ๑๖๕)
ในขณะนี้กรมราชทัณฑ์มีผู้ต้องขังอยู่ในความควบคุม จำนวน ๑๙๒,๕๔๕ คน แบ่งเป็นผู้ต้องขังชาย ๑๖๘,๑๓๓ คน ผู้ต้องขังหญิง ๒๔,๔๑๒ คน (ข้อมูลจากกองแผนงาน กรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒) ซึ่งส่วนมากเป็นบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ต่ำมักก่อให้เกิดปัญหาสังคม เมื่อเข้ามาถูกคุมขังภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ต้องให้การดูแลทุกด้านตามสิทธิที่พึ่งจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำกระบวนการศึกษามาใช้เป็นแนวทางแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยให้เกิดการเรียนรู้ โดยในขั้นตอนการดำเนินการผู้ต้องขังทุกคนที่เข้ามาอยู่ภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน จะต้องผ่านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อให้ทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพเดิม รับทราบความคิดเห็นและความต้องการในการเรียนรู้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับผู้ต้องขังทุกคนซึ่งได้แบ่งการจัดการศึกษาให้กับผู้ต้อง โดยแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ประกอบด้วย
๑. การศึกษาสายสามัญตั้งแต่รู้ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่เป็น ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย
๒. การศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช สามารถสมัครเรียนได้ ๒ หลักสูตร คือระดับปริญญาตรี และโครงการศึกษาต่อเนื่อง โดยใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลจากสื่อการสอน และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากมุม มสธ. จากห้องสมุดภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน
๓. การศึกษาวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงาน และสถานประกอบการโดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน กรมอาชีวศึกษา
๔. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเลือกสรรที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ภายในเรือนจำและทัณฑสถาน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องศูนย์การเรียนรู้ หรือสมัครเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ
๕. การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยกิจกรรมด้านศาสนา กีฬา และนันทนาการ เพื่อสร้างค่านิยมและเจคติที่ดีต่อสังคม (กลุ่มงานพัฒนาระบบ กรมราชทัณฑ์. ๒๕๔๔)
ภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ กรมราชทัณฑ์ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนผู้ต้องขัง ตลอดจนพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับความรู้ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องแม้ขณะต้องโทษ และจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดการเรียนรู้เมื่อพ้นโทษแล้ว กรมราชทัณฑ์ได้ศึกษาค้นคว้า และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้ต้องขังแต่ละประเภทอย่างต่อเนื่อง
ผู้อำนวยการทัณฑสถาน
นางสาวพรทิพย์ รัตนชัยฤทธิ์
ผู้อำนวยการ
ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา
สายด่วนทัณฑสถานหญิง
0-4432-3401
ผู้อำนวยการส่วน/หัวหน้าฝ่าย
![]() |
![]() |
น.ส.สถิภรณ์ คำพานิช |
น.ส.สุกัญญา ไหยน้อย |
![]() |
![]() |
น.ส.กิ่งแก้ว คงกษัตริย์ |
น.ส.สุกัญญา ไหยน้อย |
![]() |
![]() |
นางกฤษณา รักษากิ่ง |
น.ส.วรรณดี สุขสวัสดิ์ |
![]() |
![]() |
น.ส.จิราพร ทับชม |
น.ส.บุญหัส แก้ววารี |
![]() |
![]() |
นางอัญชิตา ศรีสัมพันธ์ |
นางกิตติมา เทียมจันทึก |
|
|
น.ส.นิรชรา ปัญญาวิภาส |